DeFi หรือ Decentralized Finance คือ แอปพลิเคชันทางการเงินรูปแบบใหม่ ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางอย่างพวกธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งถูกต่อยอดมาจาก เทคโนโลยีบล็อกเชน มีหน้าจัดเก็นข้อมูลทางธุรกรรม
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่นี่

เป้าหมายการบริการเปิดกว้างสำหรับทุกคน แพลตฟอร์ม DeFi ดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไร้ซึ่งผู้ควบคุม เนื่องจาก Smart Contract หรือที่ใครๆ เรียกว่า สัญญาอัจฉริยะ จะเป็นคนทำหน้าที่ดำเนินการด้วยตัวเองตามเงื่อนไขที่กำหนด
ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นอยู่บน Ethereum Chain เนื่องจากใช้ภาษาโปรแกรม Solidity ที่เอื้อต่อการสร้าง Smart Contract และ ที่สำคัญยังเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดรองจาก Bitcoin ที่มีคนใช้จำนวนมากอีกด้วย
เกิดขึ้นจากอะไร
เกิดขึ้นจากความต้องการในการที่จะทำธุรกรรมทางการเงิน แบบรวดเร็ว ไร้ตัวกลาง มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ เนื่องจากการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิมต้องใช้เวลานาน และมีค่าธรรมเนียมที่สูง อีกทั้งยังต้องพึ่งพาสถาบันการเงินหรือธนาคาร ในการสร้างความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบธุรกรรมนั้นๆ แต่เมื่อไร้ตัวกลาง ผู้ใช้งานจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ฝากเงินธนาคารได้ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี ธนาคารนำเงินที่ฝากไปปล่อยกู้คิดดอกเบี้ย 4-6% ตัวธนาคารรับดอกเบี้ยเฉลี่ย 5% เหลือกำไรให้เราแค่ 0.5% ซึ่งแปลว่า ธนาคารได้ประโยชน์ เหตุใดทำไมธนาคารต้องหักเงินไว้จำนวนมาก เพราะมีคนเป็นหมื่น มีสาขามากมาย ต้นทุนธนาคารมหาศาล ซึ่งภาระเหล่านี้ต้องหาเงินมาเพื่อจ่าย ค่าใช้จ่ายพวกนี้
เพื่อลดปัญหาข้างต้น Decentralized Finance จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในเรื่องของระบบด้านการเงิน ผู้ใช้สามารถส่งและรับรายการธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว อยู่บนระบบบล็อกเชน มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อต้องเทียบกับวิธีแบบดั้งเดิม
อีกทั้งยังเปิดโอกาสเชื่อมต่อกันระกว่างผู้ใช้แบบไร้พรมแดน ผู้ใช้สามารถเลือกสมัครหรือเชื่อมต่อได้ด้วยตนเอง เพราะไม่ต้องมีตัวกลางใดๆ ทำให้ Decentralized Finance มีการกระจายอำนาจออกไปมาก
ดอกเบี้ยสูงเพราะอะไร ?
เนื่องจากการทำงานของระบบนี้ ไม่มีตัวกลาง ตัวแพลตฟอร์มเสมือนเป็นการฝากเงินธนาคารแบบออนไลน์ เอาไว้ไปปล่อยที่อื่น ซึ่งเงินที่นำไปฝากนั้นไม่ใช่เงินเฟียตหรือเงินบาท แต่เป็นเงินสกุลคริปโทเคอร์เรนซี่ ที่ดอกเบี้ยสูงสาเหตุมาจาก ไม่มีตัวกลาง ไม่แค่ระบบ ต้นทุนต่างๆ ไม่ได้มากเหมือนเดิม เมื่อต้องหักค่าบริการจาก 3-4% DeFi อาจเหลือเพียง 0.2-0.5% จึงทำให้ได้ดอกเบี้ยเต็มหน่วยนั่นเอง
มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
เป็นบริการที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน หากเจ้าของเขียนโค้ดไม่ดีก็มีโอกาสที่จะถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาดูสถานที่ ที่จะนำเงินไปฝาก หรือเว็บไซต์เหล่านั้นว่าน่าเชื่อถือหรือไม่
การลงทุนคริปโตย่อมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ตัวระบบ DeFi ก็ย่อมีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เนื่องจากตัวระบบถูกสร้างอยู่บน Ethereum เมื่อมีการปรับปรุงหรือทำการขยายขนาดระบบเพื่อให้รองรับผู้ใช้งานมากขึ้น ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นคือ การค้างคาของรายการธุรกรรมต่าง ๆ และค่าธรรมเนียมที่แพงขึ้นในช่วงเวลานั้น อาจทำให้เกิดการขัดข้องของระบบและโนปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงเพื่อตรวจสอบสินทรัพย์ของตนเองได้ ไม่เพียงแค่นั้น ถ้าหากราคาเหรียญตกลงก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด
และยังมีความเป็นไปได้ว่า อาจมีผู้ไม่หวังดีต้องการแฮกระบบเพื่อประโยชน์ส่วนตน โดยอาจรอจังหวะที่มีเหตุขัดข้องในซอฟต์แวร์ของ Smart Contract หรือช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลการทำงานของระบบ
รูปแบบที่คนนิยมใช้มีอะไรบ้าง
Decentralized Exchanges (DEXs): คือแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อผู้ใช้กับผู้ใช้โดยตรง (Peer-to-Peer) สำหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลาง
Stablecoins: คือสกุลเงินดิจิทัลที่ผูกมูลค่าไว้กับสินทรัพย์อื่น เช่น เงินสกุล Dollar หรือ Euro เพื่อรักษาให้มูลค่าของเหรียญให้คงที่
Lending platforms: ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลค้ำประกันและมี Smart Contract ในการจัดการการกู้ยืมโดยอัตโนมัติ เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาฝากเหรียญหรือกู้ยืมเหรียญดิจิทัลต่าง ๆ ได้
“Wrapped” Bitcoins (WBTC): เป็นวิธีการส่ง Bitcoin ไปยังเครือข่ายของ Ethereum เพื่อให้สามารถใช้ Bitcoin บน DeFi ของ Ethereum ได้ โดยทาง Wrapped Bitcoin อ้างว่าเป็นเหรียญที่มีการผูกมูลค่ากับ Bitcoin ในอัตรา 1:1 เหรียญแรกของโลก
Prediction markets: เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถซื้อขาย “การคาดการณ์” ในอนาคตได้ เทียบได้กับการซื้อขายบนตลาด Futures
Yield farming: เปรียบเสมือนการทำนาบนโลกคริปโต ที่ผู้ใช้งานจะสามารถเลือกแพลตฟอร์ม DeFi ต่าง ๆ ที่มอบกําไรหรือผลตอบแทนสูง ซึ่งเหมือนกับการหว่านเมล็ดพันธุ์ในนา ที่มีผลการเก็บเกี่ยวเป็นเหรียญหรือค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการปล่อยกู้ โดยรางวัลเหล่านี้จะได้รับกลับมาตามอัตราส่วนของจำนวนเหรียญที่ฝากไว้ให้กู้ยืมได้ และเป็นรางวัลของการเพิ่มสภาพคล่องผ่านการเพิ่มเหรียญลงในระบบกลาง
ทั้งนี้ การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง และการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบ DeFi ก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีและถี่ถ้วนหากพลาดไปก็ยากต่อการเรียกคืนมูลค่าของสินทรัพย์ที่เสียไปได้ หมั่นติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ผิดพลาดต่อการลงทุน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ TOMITECH