หลายคนอาจจะสงสัยว่า การทำโมเดลนี่เขาทำกันยังไง ปั้นมือเองเลยหรือว่าใช้เครื่องจักร วันนี้เราจะพูดถึง 3D printer คือเครื่องจักรที่ใช้กระบวนการเติมเนื้อวัสดุ สามารถจับต้องได้!

ในปัจจุบันนี้ มีการค้นพบวิธีการขึ้นรูปแบบใหม่มากมาย และสิ่งที่เป็นไปแล้วคือ 3D printer คือ การที่เครื่องจักรใช้กระบวนการเติมเนื้อวัสดุ มีความกว้าง ลึก สูง ไม่เหมือนเครื่อง Printer แบบ 2D ที่เราใช้โดยทั่วไปที่พิมพ์หมึกสีลงบนกระดาษโดยจะอาศัยข้อมูลในรูปแบบดิติทัล การเติมเนื้อหรือพิมพ์วัสดุลงไปนั้นเรียกว่า Additive Process เป็นการพิมพ์ไปที่ละชั้น หรือ ทีละ Layer นั่นเอง โดยที่วัสดุที่ใช้ในการขึ้นรูปอาจจะแตกต่างกัน เช่น บางวัสดุใช้เป็นพลาสติก บางวัสดุเป็นน้ำ และบางวัสดุอาจจะเป็นผงฝุ่น แต่หลักการในการขึ้นรูปให้เป็นโมเดล 3 มิติ ก็ยังเป็นการสร้างที่ละชั้น ต่อกันไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นชิ้นงานโมเดล 3 มิติ ที่จับต้องได้ จริงๆแล้ว เครื่อง 3 มิตินี้ใช้กันมานานแล้ว แต่ใช้กันในวงจำกัด อย่างบริษัทใหญ่ ๆ หรือ ใน Lab ใหญ่ ๆ เท่านั้น แต่เมื่อประมาณปี 2009 เพิ่งจะได้รับความนิยมในผู้ใช้จำนวนมากและมีราคาลดลง จนมาถึงปัจจุบันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ
ตัวอย่างประเภทของเครื่องปริ้น 3 มิติ
ระบบฉีดเส้นพลาสติก (FDM หรือ FFF)
FDM หรือ Fused Deposition Modeling มีหลักการทำงาน คือ การหลอมเส้นพลาสติกให้กลายเป็นของเหลวแล้วฉีดออกมาเป็นเส้นผ่านหัวฉีด (Nozzle) จะวาดเส้นพลาสติกที่ถูกฉีดออกมา เป็นรูปร่างในแนบแกนระนาบ เมื่อเสร็จชั้นหนึ่งๆก็จะพิมพ์ในชั้นต่อๆไป เมื่อครบหลายร้อย หรือ หลายพัน Layer ก็จะได้ออกมาเป็นรูปร่าง 3มิติ เป็นระบบที่นิยมที่สุด และถูกที่สุด ใช้ได้กับงานทุกประเภท ชิ้นงานที่พิมพ์สามารถขัด แต่ง เจาะ ได้ สามารถใช้เป็นชิ้นส่วนในเครื่องจักรได้ นำมาใช้ได้จริง
ระบบถาดเรซิ่น (SLA หรือ DLP)
มีหลักการทำงานเหมือนกัน กล่าวคือ เครื่องระบบนี้จะฉายแสงไปตัวถาดที่ใส่เรซิ่นความไวแสงไว้ (Photo Resin/Photopolymer) เมื่อเรซิ่นถูกแสงจะแข็งตัวเฉพาะจุดที่โดนแสง จึงใช้หลักการแข็งตัวของเรซิ่นนี้ในการทำชิ้นงานให้เกิดรูปร่างขึ้นมา เมื่อทำให้เกิดรูปร่างขึ้นในชั้นหนึ่งๆแล้วเครื่องก็จะเริ่มทำให้แข็งเป็นรูปร่างในชั้นต่อๆไป จนเกินเป็นชิ้นงานวัตถุที่จับต้องได้
การพิมพ์ระบบถาดเรซิ่นนี้ เหมาะกับงานชิ้นเล็กๆที่ต้องการความละเอียดสูง เครื่องโดยทั่วไปจะพิมพ์ชิ้นงานได้ชิ้นไม่ใหญ่มาก จึงเหมาะกับธุระกิจ เครื่องประดับ Jewelry, งานหล่อ, ออกแบบผลิตภัณฑ์, งานโมเดลฟีกเกอร์ เป็นต้น
ระบบผงยิปซั่ม+สี Ink Jet (Powder 3D Printer หรือ ColorJet Printing)
เครื่องจะทำงานคล้ายระบบ Inkjet แต่แทนที่จะพิมพ์ไปบนกระดาษ เครื่องจะพิมพ์ลงไปบนผงยิปซั่ม โดยจะพิมพ์สีลงไปเหมือนกัน ต่างกันที่ระบบจะฉีด Blinder หรือ กาว เมื่อสร้างเสร็จในชั้นหนึ่ง เครื่องจะเกลี่ยผงยิปซั่มมาทับเป็นชั้นบางๆในชั้นต่อไป เพื่อเตรียมพร้อมให้เครื่องพิมพ์สีและ Blinder อีกครั้ง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ TOMITECH