เนื่องจากช่วงปีที่ผ่านๆมา โรคระบาดของ COVID-19 เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดการสัมผัสจึงมีระบบที่เรียกว่า Contactless Payment เป็นการชำระเงินแบบไร้สัมผัส

การชำระเงินแบบไร้สัมผัส มันคือ การชำเงินแบบไม่ต้องส่งบัตร เงินสด หรือเหรียญให้กับร้านค้า เป็นวิธีการชำเงินแบบผ่านอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์ ซึ่งสามารถกดเงินผ่านแอปที่เชื่อมต่อกับธนาคารได้เลย หรือเชื่อมกับ E-Wallet ก็ได้เช่นกัน บังมีอีกวิธีคือการแตะบัตร หรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น Smartphone หรือ Smartwatch ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที เพื่อทำการชำระเงิน เหมือนระบบผ่านข้าวของรถไฟฟ้า ซึ่งเทคโนโลยีนี้เรียกว่า Radio Frequency Identification (RFID) ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ หรือ Near Field Communication (NFC) เสาอากาศสื่อสารระยะใกล้ นั่นเอง เนการทำธุรกรรมต่างๆที่ไม่ต้องให้ใครมาจับบัตร โทรศัพท์ของเราได้
การจะจ่ายเงิน หรือ โอนสามาทำได้ได้กี่แบบ
- ใช้มือถือจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร ด้วยคำสั่งโอนเงิน
- ใช้มือถือจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร ด้วยการยิง QR Code
- ใช้มือถือจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร ผ่าน PromptPay (พร้อมเพย์)
- ใช้มือถือจ่ายผ่านแอปฯ ผู้ให้บริการ e-Wallet ในมือถือ
- ใช้บัตรเครดิตหรือเดบิตที่รองรับ CONTACTLESS แตะหรือลิ้งค์ผ่าน SAMSUNG / HUAWEI PAY
- ใช้อุปกรณ์ Wearable ที่รองรับ Contactless จ่ายเงิน
ข้อดีของการใช้ระบบชำระเงินแบบไร้สัมผัส
- เรื่องการปลอดภัยจากการสัมผัสคนอื่น หรือคนมาสัมผัสเรา ไม่ต้องจับเงินสดที่อาจจะไม่สะอาด หรือมีเชื้อติดอยู่
- ป้องกันบัตรหาย หรือโดนขโมย เพราะไม่ต้องส่งบัตรให้พนังงานนำไปรูดหรือสอดเข้าเครื่อง หมดวังกลเรื่องบัตรจะหาย หรือการนำไปปลอมแปลงกับข้อมูลหลังบัตร
แต่ถึงอย่างไรการเข้าถึงเทคโนโลยียังไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้บริโภคและผู้ประกอบการจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นในการทำ Contactless Payment ได้ เช่น กลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่มีอุปกรณ์ Smart Phone ที่รองรับ หรือร้านค้าที่ยังไม่มีเครื่องรองรับซึ่งส่วนมากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น
และข้อที่ควรระวังอีกอย่างคือ ในปัจจุบันอุปกรณ์สื่อสารอย่างสมาร์ทโฟนเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสำคัญหลายประเภทของผู้บริโภค การใช้อุปกรณ์ที่รวบรวมข้อมูลสำคัญของตัวเองไว้ ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น อาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคเองก็ต้องระมัดระวังและก่อนจะชำเงินแบบไรสัมผัสควรดูความน่าเชื่อถือของแหล่งอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วยเช่นกัน แน่นอนว่า ผู้พัฒนาเทคโนโลยีจึงควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในประเด็นนี้เพื่อให้การชำระเงินรูปแบบนี้เติบโตต่อไปได้เช่นกัน
เพราะแหล่งสะสมเชื่อโรคในชีวิตประจำวันของเรา ก็อยู่ใน เงินสด บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยที่หลายคนอาจจะมองข้าม แต่ตัวเราเองซึ่งเป็นผู้ใช้งานก็ต้องระวังการสัมผัสจับต้องด้วยเหมือกัน หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดกันอย่างมากในช่วงโควิดระบาด เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ใช้งานเอง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ TOMITECH