ในช่วงฤดูฝน ที่ถล่มลงมาในพื้นที่ของ กรุงเทพมหานครที่ผ่านมา ช่างหนักหนาและทรมาน และคลับคล้ายคลับคาเหมือนกับสถานการณ์ของ Huawei ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน หากนับเฉพาะตลาดที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก นั่นคือ ธุรกิจสมาร์ทโฟน อย่างไรก็ตามธุรกิจอื่นๆ เช่น แล็ปท็อป และหูฟัง ถือเป็นธุรกิจที่ดีเช่นกัน
ทุกคนรู้ว่า ทุกวันนี้นี้ หัวเว่ยยังคงไม่สามารถใช้บริการ Google Mobile Services (GMS) ส่งผลให้สมาร์ทโฟนภายใต้แบรนด์หัวเว่ย ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือที่พัฒนาโดย Google และระบบปฏิบัติการ Android จนนำมาสู่การปรับกลยุทธ์ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Harmony OS ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์สวมใส่ สมาร์ทโฟน รวมถึงแล็ปท็อป เมื่อขึ้นชื่อว่าระบบปฏิบัติการใหม่ ไม่ว่าอย่างไรมันก็เป็นเรื่องยากไม่น้อยสำหรับหัวเว่ย ต่อการปั้นระบบนิเวศของตัวเอง

เฉิง เจียงเฟย เปิดเผยว่า แม้ในเวลานี้หัวเว่ยจะไม่สามารถใช้บริการของ Google Mobile Servies ก็จริง แต่หัวเว่ยได้สร้างแพลตฟอร์ม AppGallery ขึ้นมาทดแทน ปัจจุบันมีผู้ใช้งานรายเดือนมากกว่า 580 ล้านคน โดยในปี 2021 ที่ผ่านมา มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจาก Huawei AppGallery มากถึง 432 ล้านคนจนตอนนี้ ติด Top3 ตลาดแอปพลิเคชันชั้นนำของโลก
เจียงเฟย อธิบายต่อไปว่า หัวเว่ยพยายามที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้งาน โดยไม่ได้จำกัดขอบเขตการใช้งานเอาไว้แค่เฉพาะสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่หัวเว่ยได้มีความพยายาม AppGallery ไปยังอุปกรณ์ในส่วนที่เป็นแล็ปท็อป, แท็บเล็ต, นาฬิกา และสมาร์ทวิชัน
ในเวลาเดียวกัน หัวเว่ย ได้ชูแนวคิดระบบนิเวศ (Ecosystem) แบบ 1+8+N ผ่านการใช้งานของ Harmony OS และ Super Device ที่ทำงานบน EMUI มีแอปพลิเคชันและบริการสำหรับทุกสถานการณ์ ทั้งในเรื่องของสมาร์ทออฟฟิศ, สุขภาพและการออกกำลังกาย, ความบันเทิง, สมาร์ทโฮม และการท่องเที่ยว
เจียงเฟย อธิบายเสริมว่า กลยุทธ์ข้างต้นถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่หัวเว่ยได้นำมาใช้ เพื่อรับมือกับส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ลดลงตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา
สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่กำลังมีโอกาสชะลอตัว แผนการรับมือของหัวเว่ยเป็นอย่างไร
เจียงเฟย ให้คำตอบว่า แนวทางการรับมือที่พอจะเป็นไปได้คงอยู่ที่ การนำเสนอสินค้าที่เป็นสินค้านวัตกรรมจริงๆ ให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มสมาร์ทออฟฟิศ เพราะเป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่า รูปแบบการทำงานในปี 2022 มีการเปลี่ยนแปลงไปจากโลกก่อนยุคที่มีโควิด-19 โดยเฉพาะเรื่องของการประชุมออนไลน์ ซึ่งต้องการภาพและเสียงที่คมชัด นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังต้องสร้างแรงจูงใจที่ดีพอ เพื่อให้ผู้บริโภคยังคงอยู่กับแบรนด์หัวเว่ยต่อไป.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ TOMITECH