
Stewart Butterfield ผู้ก่อตั้ง Application ทีถูกใช้อยางแพร่หลายในองค์กรทีมีชือว่า Slack แต่เรื่องที่เราจะมาโฟกัสในวันนี้ไม่ใช่ตัวแพลตฟอร์ม เพราะมีสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นก็คือ เส้นทางก่อนที่เขาจะมีชื่อเสียงได้ ต้องผ่านอะไรมานับไม่ถ้วน ชายหนุ่มที่ไม่ได้จบคอมพิวเตอร์มา แถมก่อนหน้านี้เขายังเคยล้มเหลวจากบริษัทเกม แต่วันนี้เขากลายมาเป็นผู้ก่อตั้งแอปฯ ที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งเส้นทางเขาเป็นอย่างไร ไปดูกัน
สแล็ค (Slack) คือแพลตฟอร์มสำหรับสื่อสารในองค์กร จุดเด่นของมันคือการรวมเอาบริการต่างๆ มาไว้ในที่เดียว และยังทำงานเชื่อมโยงกับโปรแกรมอื่นๆ ได้อีกหลายโปรแกรมด้วย
Stewart Butterfield เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ปี 1973 เขาเป็นชาวแคนาดา สมัยยังเป็นเด็ก พ่อแม่ของเขาได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าในบ้าน และทันทีที่ได้เห็นมัน เด็กชายก็ตื่นตาตื่นใจ เขาใช้เวลาจดจ่ออยู่กับคอมพิวเตอร์อยู่นาน ไม่ยอมวางมือไปไหน จากความชอบนั้น ทำให้บัตเตอร์ฟิลด์เริ่มศึกษาโปรแกรมต่างๆ และการเขียนโค้ดด้วยตัวเอง
หลังจากที่เรียนจบ บัตเตอร์ฟิลด์และเพื่อนได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Ludicorp และผลิตเกมออนไลน์ที่ชื่อ Game Neverending แต่มันไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก บวกกับไม่มีเงินทุน จนสุดท้ายก็ต้องล้มเลิกไป
แต่ Stewart Butterfield ไม่ได้ติดอยู่กับความล้มเหลวนี้นาน เขามีไอเดียใหม่ และลงมือทำ จนกลายเป็น ‘Flickr’ เว็บไซต์แชร์รูปภาพ ซึ่งในตอนนั้นนับว่า เป็นเรื่องใหม่มาก และหลังจากเปิดตัวได้เพียง 1 ปี ยาฮู (Yahoo) ก็ได้เข้าซื้อ Flickr ด้วยมูลค่ากว่า 20 ล้านเหรียญ ทั้งยังจ้างบัตเตอร์ฟิลด์ให้ไปทำงานที่นั่นด้วย
หลังจากทำงานที่ยาฮูได้ 3 ปี เขาก็ลาออกมาเปิดบริษัทของตัวเอง คราวนี้ ขอกลับมาแก้มืออีกครั้ง ด้วยการผลิตเกมออนไลน์ที่ชื่อ Glitch ครั้งนี้มีผู้เล่นมากขึ้น อีกทั้งนักลงทุนก็สนับสนุนผลงานนี้ ตอนนี้เหมือนทุกอย่างจะเป็นไปได้ดี
หากมองในระยะยาว การลงทุนนี้ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปเลย และถ้ายังฝืนทำต่อไป มันก็จะมีแต่เสียกับเสีย เขาจึงตัดสินใจ ‘หยุด’ แต่สุดท้ายแล้ว ความพยายามทั้งหมดไม่ได้สูญเปล่า เมื่อบัตเตอร์ฟิลด์มองเห็นอีกโอกาสที่ซ่อนตัวอยู่ในความล้มเหลว
ระหว่างการสร้าง Glitch บริษัทของเขาได้พัฒนาเครื่องมือหนึ่งขึ้นมา เพื่อใช้สื่อสารงานกันในทีม มันคือ ‘Slack’
ทันทีที่ล้มเลิกบริษัทเกม เขาก็หันมาพัฒนาแพลตฟอร์มสื่อสารในองค์กรนี้แทน เพราะมองว่า มันมีโอกาสที่จะเติบโตต่อไปได้ เพราะเมื่อเปิดตัว Slack ในปี 2013 ก็มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และในปี 2015 บริษัทก็ก้าวสู่ความสำเร็จระดับยูนิคอร์น คือเป็นบริษัทสตาร์ตอัปที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญ และในปี 2020 ที่ผ่านมาก็เพิ่งถูกบริษัท Salesforce เข้าซื้อด้วยมูลค่ากว่า 2.77 ล้านเหรียญ
แต่แน่นอนว่า เมื่อธุรกิจการติดต่อสื่อสารในองค์กร มีแนวโน้มเติบโตสูง ย่อมต้องมีคู่แข่งสนใจเข้ามาในตลาด Facebook มี Workplace Microsoft มี Teams ซึ่งทั้ง 2 โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมในลักษณะคล้ายกับ Slack

รวมถึงบริษัทเหล่านี้ มีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่า Slack คือมีฐานลูกค้าเดิมในจำนวนหลักพันล้านบัญชี และมีทุนสูง พร้อมแข่งขันด้านราคาอย่างเต็มที่ ต้องรอลุ้นว่าจะปรับตัวอย่างไร แต่เส้นทางของเขาเนี่ย ถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียว
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ TOMITECH