
สถานีอวกาศนอกโลก ที่มีแรงโน้มถ่วงเทียม (Artificial gravity) โดยบริษัท เวสสเปซ (Vast Space) สตาร์ตอัปเกิดใหม่นำเสนอแนวคิดโดยการสร้างสถานีอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงเทียม
มนุษย์ที่อยู่อาศัยบนสถานีอวกาศแห่งนี้สามารถเดินไปมาบนสถานีอวกาศได้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการเดินบนผิวโลกที่มีแรงโน้มถ่วงฉุดรั้งพวกเราไว้ โครงสร้างของสถานีอวกาศตามที่บริษัท เวสสเปซ นำเสนอ รองรับผู้อยู่อาศัยประมาณ 40 คน และมีความยาวทั้งหมด 100 เมตร มีขนาด ใกล้เคียงกับสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ที่มีความยาว 73 เมตร แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปอยู่ตรงที่สถานีอวกาศตามแนวคิดของบริษัท มีการสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม (Artificial gravity) โดยการหมุนโครงสร้างสถานีอวกาศ บริษัท ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดวิธีการทำงานของสถานีอวกาศ
แรงโน้มถ่วงเทียม โดย Vast Space คือ?
แนวคิดการสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม (Artificial gravity) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นมานานแล้วและมักพบเห็นในนิยายวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงการดำรงชีวิตของมนุษย์ บนสถานีอวกาศขนาดใหญ่ เช่น แนวคิดสถานีอวกาศแบบล้อหมุน (Rotating wheel space station) ถูกนำเสนอโดยคอนสตันติน ซีออลคอฟสกี นักวิทยาศาสตร์รัสเซียในปี 1903 หรือ 119 ปีก่อน
“โลกมีทรัพยากรที่จำกัด แต่ในระบบสุริยะ มีความมั่งคั่งที่ยังไม่ได้ใช้จำนวนมหาศาล ทั้งในแง่ของพลังงานและสสารซึ่งสามารถสนับสนุนโลกได้อีกมากมาย”
“ในทำนองเดียวกัน มนุษยชาติต้องการพรมแดนอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ทุกแห่งมีอารยธรรมหนึ่งที่ต้องรุกล้ำเข้าไป อย่างไรก็ตามเราไม่ได้มีสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว หากไม่มีการสำรวจพรมแดนใหม่ การดำรงอยู่เพียงบนโลกมีความอันตรายต่ออารยธรรมของมนุษย์ เราจึงต้องอยู่ให้ห่างจากโลกในที่สุด”
“ผมเชื่อเสมอมาว่าการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อลดความไร้ประสิทธิภาพและปรับปรุงสภาพของมนุษย์สามารถขยายที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในอวกาศได้ เราต้องสร้างเทคโนโลยีที่ยั่งยืนอย่างสมบูรณ์แบบ” เจด แมคคาเลบ (Jed McCaleb) บริษัท เวสสเปซ กล่าวกับเว็บไซต์ ด้านอวกาศสเปซนิวซ์ (Space News)
แนวคิดที่ยิ่งใหญ่ท้าทายวงการอวกาศ เกิดขึ้นในบริษัทที่มีพนักงานเพียง 20 คนเท่านั้น บริษัท เวสสเปซ ตั้งอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา ทีมงานประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศและอดีตรองประธานบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) และอดีตวิศวกรจากบริษัทด้านเทคโนโลยีอวกาศอีกหลายคน
นับว่าเป็นสิ่งที่ยิง่ใหญ่มากๆครับ สำหรับการที่สร้างแรงโน้มถ่วงเทียม ซึ่งสามารถเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักบินอวกาศได้เลยครับ แต่ยังไงต้องรอติดตามว่าจะคืบหน้ายังไงบ้าง
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ TOMITECH