Web 3.0 รูปแบบอินเทอร์เน็ตในอนาคตที่จะไม่มีเซิร์ฟเวอร์ มีการกระจายอำนาจ เป็นโลกอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถควบคุมข้อมูล ตัวตน
ทำความรู้จักกับเวอร์ชันก่อนจะมาเป็นเวอร์ชันล่าสุด
Web 1.0
เกิดขึ้นในปี 2532 โดย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) วิศวกรด้านคอมพิวเตอร์ของอังกฤษ Web 1.0 เว็บไซต์ในยุคเริ่มต้น นั้นเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว (One Way Communication) หมายถึง เป็นการสื่อสารเพียงทางเดียว ไม่มีการโต้ตอบกลับมาใด ๆ คนที่จะสามารถแก้ไขหน้าตาเว็บไซต์ได้ก็จะมีแต่เจ้าของเว็บไซต์ (Webmaster) เท่านั้น เช่น เว็บไซต์ประกาศข่าว เว็บไซต์รับสมัครงาน เว็บประวัติส่วนตัว เป็นต้น
Web 2.0
เป็นการพัฒนาจาก Web 1.0 มาเป็น Web 2.0 ซึ่งเว็บไซต์ประเภทนี้สามารถทำได้ทั้งอ่าน และยังสามารถโต้ตอบกันได้อย่างอิสระ ในรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication) สามารถสื่อสารหากันได้ทั้งระหว่างเจ้าของเว็บไซต์และผู้ใช้งาน หรือระหว่างผู้อ่านกันเองได้ และผู้สร้างเนื้อหาเพื่อสื่อสารกันเองได้ เกิดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ (Social Network) เช่น Facebook หรือ Twitter ส่งผลให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังมีปัญหาอยู่ เพราะว่าการสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการสื่อสารที่มีตัวกลางเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะช่องทางอยู่ ซึ่งคนกลางเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เราสื่อสารกัน พฤติกรรมการใช้งาน ทำให้เกิดปัญหาการขโมยข้อมูลไปขายได้นั่นเอง
Web 3.0
การพัฒนาแนวคิดของ Web 3.0 เกิดขึ้นมาเพื่อลดบทบาทของตัวกลางลง เพิ่มความ ‘ไร้ตัวกลาง’ (Decentralized) ให้มากยิ่งขึ้น เป็นแนวคิดที่เริ่มมาจากทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ซึ่งรูปแบบของเว็บไซต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่คาดการณ์ไว้ว่ามันจะเป็นยุคใหม่ของอินเทอร์เน็ต มีความฉลาดมากขึ้น สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ เชื่อมโยงระหว่างข้อมูลบนเว็บไซต์ ให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่เชื่อมโยงระหว่างกันแบบเครือข่ายทั่วทั้งโลก ก่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ เช่น Artificial Inteligence (AI), Blockchain หรือการใช้ AI เข้ามาช่วยในการทำให้เว็บไซต์นั้นมากขึ้น
เป็นเพียงการคาดการณ์เว็บไซต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ได้ก่อตั้ง องค์กรเว็บไซต์สากล (World Wide Web Consortium หรือ W3C) ขึ้นมา เพื่อการพัฒนามาตรฐานสากลของเว็บไซต์โดยเฉพาะ

ลักษณะที่อาจจะเกิดขึ้นและได้เกิดขึ้นแล้ว
- Decentralized หรือ ไร้ตัวกลาง หมายถึง มีการกระจายอำนาจผู้ใช้งาน ไม่ต้องติดต่อสื่อสารหากันผ่านตัวกลาง หรือ เซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ
- Bottom-up Design หรือ โค้ดที่ออกแบบร่วมกันได้ หมายถึง การพัฒนาโค้ดที่ให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการเข้ามาพัฒนาโค้ดของเว็บไซต์ หรือแอปต่าง ๆ จนสามารถใช้งานได้ หรือโค้ดโปรแกรมเป็นแบบโอเพ่นซอร์ส ทำให้สามารถเข้ามาร่วมพัฒนาโค้ด แก้บั๊กต่าง ๆ ร่วมกัน เป็นต้น
- Consensus หรือการมีฉันทามติ สามารถตรวจสอบความถูกต้องกันเองระหว่างผู้ใช้ได้ มีความโปร่งใส เพื่อสร้างความเห็นพ้องต้องกันได้
เกวิน เจมส์ วูด (Gavin James Wood) ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum คริปโทเคอร์เรนซีอันดับต้น ๆ ของโลก ได้กล่าว สรุปแนวคิดออกมาใหม่ คือ “รูปแบบอินเทอร์เน็ตในอนาคตที่จะไม่มีเซิร์ฟเวอร์ มีการกระจายอำนาจ เป็นโลกอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถควบคุมข้อมูล ตัวตน รวมถึงกำหนดทิศทางของชีวิตตัวเองได้อย่างแท้จริง” และทางเกวินยังได้ก่อตั้งมูลนิธิ Web3 (Web3 Foundation) ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และผลักดันให้มาตรฐานเว็บไซต์ใหม่นี้เป็นที่รู้จัก เพื่อให้มีผู้ใช้งานให้มากยิ่งขึ้น
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ TOMITECH